วิหารเวสต์มินสเตอร์

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2490 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ภายหลังคือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2) ได้ทำการอภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าชาย ฟิลิป ของ กรีซ (ภายหลังคือ ดยุคแห่งเอดินเบอระ) ในวิหารแห่งนี้ และถือเป็นเจ้าสาวอันดับที่สิบของราชวงค์ที่ได้อภิเษกสมรสในวิหารนี้ โดยพระราชบิดา และพระราชมารดาของพระองค์ได้ทำการอภิเษกสมรสในวิหารแห่งนี้ ในวันที่ 26 เมษายน 2466

เนื่องจากเป็นสองปีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยอันเคร่งครัด ทำให้พิธีอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเอลิซาเบธมีการเพิ่มจำนวนที่นั่งเพียงเล็กน้อย และมีแขกมาร่วมงานประมาณ 2,000 คน

วิหารแอบบีย์มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่าล้านคนต่อปี และอีกนับพันคนที่เข้ามาสักการะในวิหารแห่งนี้เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่กษัตริย์ พระราชินี รัฐบุรุษ ทหาร คนแต่งบทกวี นักบวช วีรบุรุษ เรื่อยไปจนถึงคนร้าย วิหารแอบบีย์คือสถานที่ที่ไม่ควรพลาดในการเยี่ยมชมประวัติศาสตร์ของบริเตน

วิหารแห่งนี้ไม่ได้มีความสัมพันธ์เพียงแค่บริเตนเท่านั้น แต่ยังแสดงถึง “เขตศาสนจักรของโลก” เนื่องจากยังมีความเกี่ยวพันธ์กับอีกหลายประเทศ

อาคารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีอายุมากกว่า 700 ปี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 1788 และนี่คือหนึ่งในตึกที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิกที่สำคัญที่สุดของประเทศ ซึ่งนักบุญเบเนดิกตินได้เข้ามาในสถานที่นี้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 10

วิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกตั้งแต่พ.ศ. 1609 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมได้ขึ้นครองราชย์ พร้อมทั้งเป็นสถานที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ถึง 17 พระองค์

ประชาชนกว่า 3,000 คนได้มีโอกาสฝากร่างสุดท้ายของเขาไว้ในโบสถ์และพระระเบียง นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยอนุสาวรีย์ และอนุสรณ์ต่างๆ มากกว่า 600 แห่ง รวมไปถึงหลุมฝั่งศพของทหารนิรนาม ซึ่งไม่เป็นเพียงแค่สถานที่ฝังศพของผู้ที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคคลนับล้านที่เสียชีวิตจากความขัดแย้งทางทหารดังกล่าว

โดยส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดของ วิหารเวสต์มินสเตอร์ แอบบีย์ คือ มุมนักกวี (Poets’ Corner) บริเวณทางเดินทางทิศใต้ ซึ่งทางเดินนี้มีรูปทรงเหมือนไม้กางเขนในแบบสถาปัตยกรรมโกธิก โดยแรกนั้น สถานที่แห่งนี้ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นสถานที่ฝังศพของนักเขียน ผู้เขียนบทละคร นักกวี หากแต่เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ เป็นนักกวีคนแรกที่ได้ฝากร่างสุดท้ายไว้ที่นี่ เนื่องจากเขาเคยเป็นเสมียนให้กับพระราชวังของเวสต์มินสเตอร์ ไม่ใช่เพราะเขาเป็นผู้ประพันธ์ Canterbury Tales และการถูกฝั่งหรือได้ถูกจารึกในวิหารแห่งนี้บางครั้งก็ไม่กระทำในทันทีหลังจากเสียชีวิต อาทิเช่น ลอร์ด ไบรอน นักประพันธ์ผู้อื้อฉาวถึงแม้บทประพันธ์ของเขาจะเป็นที่ชื่นชมก็ตาม เขาได้เสียชีวิตใน พ.ศ. 2367 แต่ท้ายที่สุดก็ได้ถูกจารึกใน พ.ศ. 2512 หรือแม้แต่ เชกสเปียร์ ที่ฝังที่ สแตรตฟอร์ด อัพพอน เอวอน ในปี พ.ศ. 2159 และต้องรอจนถึงปี พ.ศ. 2283 กว่าที่จะได้สร้างเป็นอนุสาวรีย์ในมุมนักกวีแห่งนี้