สารเคมี

สารเคมีนั้นมีบทบาทสำคัญ แพร่หลายอยู่ทั้งในการผลิต เป็นทั้งสารประกอบ หรือมีการนำมาใช้งานโดยตรง ซึ่งแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภท โดยมีทั้งสารเคมีชนิดที่ปลอดภัยแก่การใช้งานและมีทั้งสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นอันตราย เช่น เป็นพิษ เป็นวัตถุไวไฟ หรือมีคุณสมบัติเป็นกรด ซึ่งถือเป็นกลุ่มสารเคมีที่ต้องมีความระมัดระวังในการเก็บรักษาเป็นอย่างมาก
โดยทั่วไปแล้ว การเก็บสารเคมีให้ก่อเกิดความปลอดภัยอย่างมีมาตรฐาน จะมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.ก่อนการเก็บสารเคมีควรให้ความสำคัญต่อการเลือกสถานที่ในการเก็บ สถานที่เก็บที่ดีควรจะต้องอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง อีกทั้งยังควรมีอากาศถ่ายเทไม่อบอ้าว มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนเกินไป และควรมีสภาพแวดล้อมที่แห้งไม่อับเปียกชื้น

2. เนื่องจากสารเคมีเป็นวัตถุอันตราย ดังนั้นจะต้องมีป้ายแจ้งเตือน ระบุว่าเป็นสถานที่ใช้สำหรับเก็บสารเคมี เพื่อให้บริเวณโดยรอบสถานที่เก็บได้รับความระมัดระวังจากผู้คนโดยรอบ ไม่กระทำในสิ่งที่สุ่มเสี่ยงใกล้สถานที่เก็บสารเคมี อีกทั้งยังควรอยู่ในที่ปิดมิดชิด มีการปิดล็อคอย่างปกป้องการเข้าถึงของเด็กและบุคคลภายนอกที่ไม่มีความรู้ในการระมัดระวัง และฝาผนังควรเลือกใช้วัสดุทนไฟ

3. ควรให้ความสำคัญในเรื่องชั้นวางของสารเคมี ควรจะต้องจัดวางให้เหมาะสม วัสดุอันตรายที่สุ่มเสี่ยงต่อการตกหล่นหรือหกทะลัก ไม่ควรจัดวางไว้บนที่สูงเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันได้ อีกทั้งลักษณะของชั้นวางจะต้องมีความแข็งแรงมั่นคงไม่สั่นคลอน และมีพื้นที่วางกว้างพอ ไม่จัดวางในลักษณะหมิ่นเหม่ต่อการตกหล่น

4. จะต้องมีป้ายชื่อระบุชนิดของสารเคมี รวมถึงการแจ้งเตือนข้อต้องระวัง และข้ออันตราย ติดไว้กับทุก ๆ ภาชนะที่บรรจุสารเคมี โดยป้ายหรือฉลากที่ใช้จะต้องแสดงข้อมูลได้ชัดเจนคงทนไม่เสื่อมสภาพได้ง่าย

5. พึงระวังหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะบรรจุ ที่ไม่แข็งแรง เช่นมีการบิดรูปทรงได้ง่าย หรือมีปิดที่ไม่แน่นหนา ไม่ทนต่อแรงดัน ไม่ทนทานต่อการสึกกร่อน หรือไม่สามารถรองรับแรงกระแทกในระดับที่ควรรองรับได้ อีกทั้งยังควรมีอุปกรณ์หรือภาชนะที่สามารถรองรับเหตุฉุกเฉินเมื่อภาชนะเดิมชำรุดได้อย่างทันท่วงที

6. ภาชนะบรรจุสารเคมี ที่อยู่ในที่ต่ำไม่ควรวางกับพื้นแต่จะต้องมีชั้นรอง ป้องกันการหกนอง อีกทั้งหลีกเลี่ยงการวางทับซ้อนแบกน้ำหนักกัน และควรเว้นระยะห่างพอสมควรเพื่อป้องกันเหตุสารเคมีรั่วไหลกระทบต่อกัน

7. พึงระวังการ วางในจุดที่เสี่ยงต่อการพลาดสะดุดล้มหรือชนกระแทก เช่นการวางขวางประตูหรือหน้าต่าง

8. จัดทำบันทึกอายุการใช้งานของสารเคมีแต่ละขวดเอาไว้ และเรียงขวดที่ใกล้หมดอายุก่อนให้อยุ่ในระยะหยิบใช้ง่าย โดยหากขวดใดที่หมดอายุแล้ว ไม่ควรเก็บไว้และห้ามนำไปใช้อีกทั้งต้องมีกระบวนการทิ้งที่ถูกต้องแก่หลักสาธารณะ

9. ติดตั้งอุปกรณ์รองรับเหตุฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด อาทิเช่น ถังดับเพลิง เครื่องปฐมพยาบาล หรือสัญญาณเตือนภัยขอความช่วยเหลือเป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นต้องเก็บสารเคมีอันตรายชนิดร้ายแรงสูง หลักการมาตรฐานเบื้องต้นอาจยังไม่พอ และจะต้องมีข้อพิเศษเฉพาะทางสำหรับสารเคมีชนิดนั้น ๆ โดยตรง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

Credit: https://thatchaiwoodtech.com/